มีรายงานว่า eFishery สตาร์ทอัพสายเทคโนโลยีการเลี้ยงสัตว์น้ำจากอินโดนีเซีย ได้รับเงินเพิ่มทุนในซีรี่ส์ D อีก 108 ล้านดอลลาร์ ทำให้มูลค่ากิจการเพิ่มเป็น 1,260 ล้านดอลลาร์ จึงเป็นสตาร์ทอัพรายล่าสุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่มีสถานะยูนิคอร์น (มูลค่ากิจการมากกว่า 1 พันล้านดอลลาร์)

มีรายงานว่า eFishery สตาร์ทอัพสายเทคโนโลยีการเลี้ยงสัตว์น้ำจากอินโดนีเซีย ได้รับเงินเพิ่มทุนในซีรี่ส์ D อีก 108 ล้านดอลลาร์ ทำให้มูลค่ากิจการเพิ่มเป็น 1,260 ล้านดอลลาร์ จึงเป็นสตาร์ทอัพรายล่าสุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่มีสถานะยูนิคอร์น (มูลค่ากิจการมากกว่า 1 พันล้านดอลลาร์) ผู้ลงทุนรายหลักในรอบซีรี่ส์ D นำโดยกองทุน 42XFund จาก UAE ร่วมด้วยกองทุน Vision Fund 2 ของ SoftBank และมีผู้เคยลงทุนก่อนหน้านี้คือ SoftBank, Sequoia Capital ส่วนธุรกิจอินเดีย และกองทุน Temasek ของสิงคโปร์ eFishery เริ่มต้นธุรกิจในปี 2013 ด้วยเครื่องควบคุมการให้อาหารในฟาร์มเลี้ยงปลาและกุ้ง จากนั้นจึงพัฒนาเป็นโซลูชันครบวงจรในการเลี้ยงทั้งปลาและกุ้ง ตลอดจนขยายไปสู่ระบบมาร์เก็ตเพลสเพื่อกระจายสินค้าไปยังลูกค้าโดยตรง และเข้าถึงบริการทางการเงินที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ได้ผลิตผลอย่างมีประสิทธิภาพและมีความยั่งยืน eFishery ปัจจุบันมีเกษตรกรในระบบมากกว่า 6 พันราย กระจายอยู่ 250 เมืองทั่วอินโดนีเซีย และระบุว่าเกษตรกรมีรายได้เฉลี่ยเพิ่มขึ้น 45% เมื่อใช้โซลูชันของ eFishery … Read more

Marissa Mayer อดีต CEO ของ Yahoo! ได้เปิดเผยความรู้สึกเสียใจจากการที่ Yahoo! ได้ซื้อเข้าแพลตฟอร์ม Tumblr ในราคา 1.1 พันล้านดอลลาร์ในปี 2013 แทนที่ควรจะซื้อ Netflix หรือ Hulu ที่ตอนนั้น Netflix มีมูลค่าอยู่ที่ 4 พันล้านดอลลาร์ และ Hulu มีมูลค่า 1.3 พันล้านดอลลาร์

Marissa Mayer อดีต CEO ของ Yahoo! ได้เปิดเผยความรู้สึกเสียใจจากการที่ Yahoo! ได้ซื้อเข้าแพลตฟอร์ม Tumblr ในราคา 1.1 พันล้านดอลลาร์ในปี 2013 แทนที่ควรจะซื้อ Netflix หรือ Hulu ที่ตอนนั้น Netflix มีมูลค่าอยู่ที่ 4 พันล้านดอลลาร์ และ Hulu มีมูลค่า 1.3 พันล้านดอลลาร์ Mayer เล่าว่าตอนนั้นบริษัทต้องการซื้อกิจการที่พลิกโฉมบริษัท โดยพิจารณาทั้ง Tumblr, Netflix และ Hulu แต่ก็ตัดสินใจเลือกเจ้าแรกไป ขณะที่ธุรกิจสตรีมมิ่ง Yahoo! ดันเอา Yahoo! Screen ที่เดิมให้ผู้ใช้อัปโหลดวิดีโอเหมือน YouTube ก่อนจะเปลี่ยนโมเดลเป็นวิดีโอออนดีมานด์แทนการซื้อกิจการ แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จมากนัก และปิดตัวไปเมื่อ 2019 ขณะที่ Tumblr ถูกขายต่อให้ Automattic เจ้าของ WordPress เมื่อปี 2019 … Read more