รพ.บำรุงราษฎร์ เปิดเวทีเสวนาเทรนด์เวชศาสตร์จีโนม คืนชีพแมมมอธ อ่าน DNA ทารก และวิเคราะห์จุลินทรีย์ในลำไส้
การแพทย์จีโนมิกส์ (Genomics Medicine) หรือ เวชศาสตร์จีโนม คือโฉมหน้าใหม่ของเทคโนโลยีทางการแพทย์ทั่วโลก โดยเป็นการบูรณาการวิทยาศาสตร์หลากแขนงทั้งจากพันธุศาสตร์ ชีววิทยา และการแพทย์เข้าด้วยกัน มุ่งเน้นการศึกษาและวิเคราะห์ DNA ที่ปรากฏในเซลล์และโครโมโซมของสิ่งมีชีวิต กลายเป็นคลื่นเมกะเทรนด์ใหญ่ระดับโลกที่มีบทบาทสำคัญในการยกระดับอุตสาหกรรมการแพทย์ของไทยให้ทัดเทียมนานาชาติ เนื่องจากศักยภาพในการสร้างมูลค่าและคุณค่าในหลายมิติ วานนี้ (9 สิงหาคม) โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์เปิดเวทีระดมผู้นำเทรนด์ด้าน Genomics ระดับโลกไว้ที่งานสัมมนาวิชาการเวชศาสตร์จีโนม ภายใต้หัวข้อ ‘หนทางสู่ชีวิตที่ยืนยาวอย่างมีสุขภาพดี’ ซึ่งถือเป็นครั้งแรกในไทยที่มีการเปิดพื้นที่แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ด้านเวชศาสตร์จีโนมใหม่ๆ โดยศาสตราจารย์ชั้นนำระดับโลก 4 ท่าน จากสถาบันที่มีชื่อเสียงในสหรัฐอเมริกา ดร.จอร์จ เชิร์ช ศาสตราจารย์ด้านพันธุศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดและสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ (MIT) ขึ้นบรรยายในหัวข้อ ความพยายามและเทคโนโลยีด้านการฟื้นพันธุ์หรือการลบล้างการสูญพันธุ์ (De-Extinction Efforts and Technologies) ด้วยเทคโนโลยีพันธุศาสตร์ Genomics ถอดรหัสพันธุกรรมของช้างแมมมอธขนยาว แล้วนำไปใส่ในพันธุกรรมของช้างเอเชีย เพื่อสร้างสิ่งมีชีวิตลูกผสมสายพันธุ์ใหม่ที่มีลักษณะทางชีวภาพคล้ายคลึงช้างแมมมอธ มีขนหนาขึ้น มีใบหูที่เล็กลง และทนความหนาวเย็นได้ดีขึ้น แถมยังสามารถทำให้งาช้างสั้นลงเพื่อป้องกันปัญหาการล่างาช้างได้อีกด้วย โดยลูกผสมระหว่างช้างและแมมมอธอาจมีชื่อว่า ‘Elemoth’ หรือ ‘Mammophant’ ความพยายามฟื้นคืนและปล่อยช้างแมมมอธที่ทนความหนาวเย็นได้ให้กลับเข้าไปในพื้นที่เขตทุนดรา … Read more