Amazon Prime Video ประกาศอย่างเป็นทางการเกี่ยวกับการรับชมสตรีมมิ่งแบบมีโฆษณา ตามแนวทางเดียวกัน Netflix, Disney+ และสตรีมมิ่งค่ายอื่น ตามที่มีข่าวออกมาก่อนหน้านี้ โดยจะเริ่มต้นกับลูกค้าใน สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร เยอรมนี แคนาดา ในต้นปี 2024 จากนั้นจะขยายไปยัง ฝรั่งเศส อิตาลี สเปน เม็กซิโก และออสเตรเลียภายในปีเดียวกัน

Amazon Prime Video ประกาศอย่างเป็นทางการเกี่ยวกับการรับชมสตรีมมิ่งแบบมีโฆษณา ตามแนวทางเดียวกัน Netflix, Disney+ และสตรีมมิ่งค่ายอื่น ตามที่มีข่าวออกมาก่อนหน้านี้ โดยจะเริ่มต้นกับลูกค้าใน สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร เยอรมนี แคนาดา ในต้นปี 2024 จากนั้นจะขยายไปยัง ฝรั่งเศส อิตาลี สเปน เม็กซิโก และออสเตรเลียภายในปีเดียวกัน Amazon บอกว่าการแสดงโฆษณาแทรกนั้น จะมีปริมาณน้อยกว่าโฆษณาทางโทรทัศน์ปกติ รวมถึงน้อยกว่าสตรีมมิ่งค่ายอื่นที่มีโฆษณาด้วย อย่างไรก็ตามวิธีการของ Amazon Prime Video จะต่างจากค่ายอื่น คือไม่ได้ทำแพ็คเกจราคาถูกลงออกมา แต่เพิ่มโฆษณาเข้าไปเลยในแพ็คเกจปัจจุบัน หากลูกค้ายังต้องการรับชมแบบไม่มีโฆษณาต่อไป ก็ต้องจ่ายค่าสมาชิกเพิ่มอีกเล็กน้อย ราคาที่ Amazon ประกาศแล้วของอเมริกาเดิม 14.99 ดอลลาร์ต่อเดือน หากต้องการชมแบบไม่มีโฆษณาต้องจ่ายเพิ่มเดือนละ 2.99 ดอลลาร์ เป็นต้น Amazon ให้เหตุผลแบบเดียวกับสตรีมมิ่งทุกค่ายถึงการเพิ่มโฆษณาว่าเพื่อให้บริษัทมีเงินลงทุนด้านการผลิตคอนเทนต์ต่อเนื่อง ที่มา: Amazon

Amazon เปิดตัวบริการใหม่ชื่อ Supply Chain by Amazon จัดการซัพพลายเชนสินค้าให้พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ครบกระบวนการ (end-to-end supply chain management) ตั้งแต่นำสินค้าออกจากโรงงาน ไปจนส่งถึงมือลูกค้าทั่วโลก และไม่ใช่แค่ผ่านอีคอมเมิร์ซอย่างเดียว แต่ยังช่วยกระจายสินค้าไปยังหน้าร้านสาขาให้ได้ด้วย

Amazon เปิดตัวบริการใหม่ชื่อ Supply Chain by Amazon จัดการซัพพลายเชนสินค้าให้พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ครบกระบวนการ (end-to-end supply chain management) ตั้งแต่นำสินค้าออกจากโรงงาน ไปจนส่งถึงมือลูกค้าทั่วโลก และไม่ใช่แค่ผ่านอีคอมเมิร์ซอย่างเดียว แต่ยังช่วยกระจายสินค้าไปยังหน้าร้านสาขาให้ได้ด้วย ก่อนหน้านี้ Amazon มีบริการชื่อ Fulfillment by Amazon (FBA) รับจัดการสต๊อกสินค้า แพ็กเกจ และส่งสินค้ามาตั้งแต่ปี 2006 ซึ่งผู้ขายสินค้าสามารถฝากของไว้ในโกดังของ Amazon โดยไม่ต้องจัดการเรื่องการแพ็กของและส่งเอง Supply Chain by Amazon เป็นเวอร์ชันอัพเกรดของ FBA เพิ่มการไปรับของจากหน้าโรงงานทั่วโลก จัดการเรื่องการขนส่งสินค้าข้ามประเทศ ภาษีนำเข้าให้ด้วย โดยที่ผู้ขายไม่จำเป็นต้องสัมผัสสินค้าเลยด้วยซ้ำ ระบบซัพพลายเชนครบวงจรนี้ประกอบด้วย 4 ส่วน ได้แก่ เครือข่ายขนส่งสินค้าข้ามประเทศ Amazon Global Logistics (AGL) เครือข่ายขนส่งในประเทศสหรัฐอเมริกาที่ร่วมกับพาร์ทเนอร์ Partnered Carrier Program (PCP) ระบบจัดการสินค้าในโกดังและกระจายสินค้า Amazon … Read more

Adam Driver วิจารณ์ Amazon และ Netflix ที่เพิกเฉยต่อข้อเรียกร้องการประท้วงในฮอลลีวูด

Adam Driver วิจารณ์สตูดิโอใหญ่อย่าง Amazon และ Netflix ที่ปฏิเสธที่จะอ่อนข้อต่อการประท้วงหยุดงานในฮอลลีวูด และเพิกเฉยต่อข้อเรียกร้องของเหล่านักแสดง   Adam Driver ให้สัมภาษณ์ถึงการประท้วงหยุดงานครั้งใหญ่ในฮอลลีวูดที่ยังคงดำเนินอยู่ของ SAG-AFTRA ระหว่างที่เขาโปรโมตภาพยนตร์เรื่อง Ferrari ที่งาน Venice International Film Festival โดย SAG หรือสมาคมนักแสดงภาพยนตร์และโทรทัศน์ ได้ตกลงยินยอมชั่วคราวเพื่อที่พวกเขาจะสามารถโปรโมตภาพยนตร์ของตัวเองได้   Adam Drive เผยว่า “ผมภูมิใจมากที่มาอยู่ที่นี่เพื่อที่จะได้มาเป็นตัวแทนของภาพยนตร์ที่ไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของ AMPTP หรือสมาพันธ์ผู้ผลิตภาพยนตร์และโทรทัศน์ และเพื่อที่จะโปรโมตการชี้นำของผู้นำ SAG ที่สร้างวิธีที่ได้ผล นั่นคือการตกลงยินยอมชั่วคราว   “อีกเป้าหมายหนึ่งก็คือการที่จะได้ออกมาพูดว่าทำไมบริษัทผู้ผลิตรายเล็กอย่าง Neon และ STX International ถึงสามารถหาข้อตกลงร่วมกันกับสิ่งที่ SAG ใฝ่ฝันและเรียกร้องได้ แต่บริษัทใหญ่อย่าง Netflix และ Amazon กลับทำไม่ได้ซะอย่างนั้น    “และทุกครั้งที่สมาชิกของ SAG ออกมาสนับสนุนภาพยนตร์ที่ตรงตามข้อตกลงยินยอมชั่วคราว มันก็ทำให้เห็นชัดกว่าเดิมเลยว่าคนพวกนี้พร้อมที่จะสนับสนุนผู้คนที่ร่วมงานกับเขา แต่คนอื่นๆ … Read more

Amazon ปรับปรุงเงื่อนไขการเผยแพร่ผลงานหนังสือผ่าน Kindle Direct Publishing (KDP) หลังจากกลุ่มนักเขียนในสหรัฐร้องเรียนว่าคอนเทนต์หนังสือ ที่ใช้ AI สร้างขึ้นมาทั้งหมดมีจำนวนเพิ่มขึ้นมาก จนกระทบกับการค้นหางานเขียนที่คนแต่ง

Amazon ปรับปรุงเงื่อนไขการเผยแพร่ผลงานหนังสือผ่าน Kindle Direct Publishing (KDP) หลังจากกลุ่มนักเขียนในสหรัฐร้องเรียนว่าคอนเทนต์หนังสือ ที่ใช้ AI สร้างขึ้นมาทั้งหมดมีจำนวนเพิ่มขึ้นมาก จนกระทบกับการค้นหางานเขียนที่คนแต่ง ข้อกำหนดใหม่นี้ระบุว่า นักเขียนต้องเปิดเผยกับ Amazon หากหนังสือนั้นใช้ AI สร้างเนื้อหา (AI-generated) ไม่ว่าจะเป็นตัวหนังสือ ภาพประกอบ หน้าปก หรือการแปล อย่างไรก็ตามหากหนังสือนั้นใช้ AI ช่วยปรับปรุง (AI-assisted) ผู้เขียนสามารถเลือกไม่เปิดเผยข้อมูลนี้ได้ โดยนิยาม AI ผู้ช่วยคือ หนังสือถูกเขียนขึ้นโดยคนในขั้นแรก แล้วนำ AI มาช่วยตัดต่อ แก้ไขคำ ตรวจคำสะกด เพื่อให้งานออกมาดีขึ้น ทั้งนี้ผู้เผยแพร่หนังสือยังต้องยืนยันและรับผิดชอบด้านลิขสิทธิ์เนื้อหา ถึงแม้จะเป็นงานที่สร้างด้วย AI ก็ตาม อย่างไรก็ตามข้อกำหนดนี้เป็นเรื่องของฝั่งผู้เขียนกับ Amazon แต่ทาง Amazon ยังไม่ได้บอกว่าจะเปิดเผยว่างานเขียนนั้นใช้ AI สร้างทั้งหมดสำหรับลูกค้าที่ซื้อหนังสือใน Kindle หรือไม่ ที่มา: PC Mag และ Amazon

กรรมาธิการยุโรปประกาศ 6 บริษัทที่เข้าข่ายสถานะ gatekeeper ได้แก่ Alphabet, Amazon, Apple, ByteDance, Meta, และ Microsoft โดยหลังจากนี้ทั้ง 6 บริษัทมีเวลา 6 เดือนปรับการทำธุรกิจให้เป็นเป็นตามข้อบังคับที่เพิ่มขึ้น

กรรมาธิการยุโรปประกาศ 6 บริษัทที่เข้าข่ายสถานะ gatekeeper ได้แก่ Alphabet, Amazon, Apple, ByteDance, Meta, และ Microsoft โดยหลังจากนี้ทั้ง 6 บริษัทมีเวลา 6 เดือนปรับการทำธุรกิจให้เป็นเป็นตามข้อบังคับที่เพิ่มขึ้น สถานะ gatekeeper ตามกฎหมาย Digital Markets Act ระบุให้เป็นบริษัทขนาดใหญ่มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจโดยรวม, มีผู้ใช้เป็นคนหรือธุรกิจจำนวนมาก, และมีความสามารถในการป้องกันสถานะตัวเองได้อย่างแข็งแกร่ง บริษัทที่ถูกจัดเข้าหมวดจะถูกบังคับให้เปิดแพลตฟอร์มให้บริการอื่นเข้ามาแข่งขันได้ และต้องไม่สร้างความได้เปรียบบริการของตัวเองเหนือบริการของผู้ให้บริการภายนอก เช่นการบังคับติดตั้งแอปบางตัวโดยไม่ให้ถอนออก ทั้งหกบริษัทถูกจัดเป็นสถานะ gatekeeper ในตลาดหลายอย่าง ได้แก่ สื่อสังคมออนไลน์, แชต, ตัวกลาง/แพลตฟอร์มต่างๆ, โฆษณา, เบราว์เซอร์, ระบบปฎิบัติการคอมพิวเตอร์, บริการค้นหา ก่อนหน้านี้ Apple และ Microsoft ยื่นหนังสือโต้แย้งว่าบริการ iMessage, Bing, และ Microsoft Advertising นั้นไม่เข้าข่าย ประกาศครั้งนี้จึงยังเว้นทั้งสองบริการไว้ระหว่างการสอบสวน ที่มา – Europa.eu

Amazon Web Services เข้าซื้อกิจการ Fig ซอฟต์แวร์คอมมานด์ไลน์ยุคใหม่ที่ปรับแต่งได้หลากหลาย โดยไม่เปิดเผยมูลค่า

Amazon Web Services เข้าซื้อกิจการ Fig ซอฟต์แวร์คอมมานด์ไลน์ยุคใหม่ที่ปรับแต่งได้หลากหลาย โดยไม่เปิดเผยมูลค่า แนวคิดของ Fig คือเอาฟีเจอร์ของ IDE ยุคใหม่ เช่น autocomplete รวมถึงความต้องการของทีมแอดมินยุคใหม่ เช่น การทำสคริปต์ใช้งานเพื่อ workflow ภายใน และสามารถแก้ไขสคริปต์ระหว่างในทีมกันได้, การแชร์คีย์ SSH เพื่อรีโมทเข้าเซิร์ฟเวอร์ แต่ต้องการแชร์อย่างปลอดภัย, การแก้ไข .dotfile สำหรับตั้งค่าเชลล์แล้วแชร์กันในทีม ฯลฯ Fig เริ่มพัฒนามาตั้งแต่ปี 2020 ปัจจุบันยังมีเฉพาะบน macOS โดยเวอร์ชัน Windows/Linux อยู่ระหว่างการพัฒนา แพ็กเกจค่าใช้งานเริ่มที่ 12 ดอลลาร์ต่อผู้ใช้ต่อเดือน โดยมี free tier สำหรับนักพัฒนาอิสระ หรือบริษัทขนาดไม่เกิน 10 คน หลังขายให้ AWS แล้ว Fig ยังให้บริการลูกค้าเก่าต่อไปตามปกติ เปลี่ยนฟีเจอร์แบบจ่ายเงินเปลี่ยนเป็นฟรีทั้งหมด, ปิดรับลูกค้าใหม่ชั่วคราว เพื่อเตรียมผนวกตัวเองเข้ากับบริการ AWS … Read more

เมื่อปี 2020 AWS ได้เปิดตัวบริการ Amazon Honeycode บริการสร้างแอปพลิเคชันแบบ No-Code ที่ผู้ใช้งานสามารถลากวางข้อมูลจากสเปรดซีต โดยแอปที่ได้สามารถใช้งานได้ทั้งผ่านเว็บ และแบบแอปมือถือ อย่างไรก็ตาม AWS ประกาศเตรียมปิดบริการนี้แล้ว

เมื่อปี 2020 AWS ได้เปิดตัวบริการ Amazon Honeycode บริการสร้างแอปพลิเคชันแบบ No-Code ที่ผู้ใช้งานสามารถลากวางข้อมูลจากสเปรดซีต โดยแอปที่ได้สามารถใช้งานได้ทั้งผ่านเว็บ และแบบแอปมือถือ อย่างไรก็ตาม AWS ประกาศเตรียมปิดบริการนี้แล้ว Honeycode Support Team แจ้งอัพเดตผ่านชุมชนผู้พัฒนา ว่าหลังจากทีมงานได้รับความเห็นจึงตัดสินใจปิดให้บริการ Amazon Honeycode ที่ตอนนี้มีสถานะเบต้า มีผลตั้งแต่วันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2024 AWS จะปิดรับสมัครผู้ใช้งานใหม่ตั้งแต่วันนี้ ส่วนผู้ที่สมัครใช้งานอยู่แล้วยังสามารถใช้งาน Honeycode และแอปที่สร้างด้วย Honeycode ได้ต่อไป จนถึงวันที่ 29 กุมภาพันธ์ หลังจากวันดังกล่าวจะไม่สามารถใช้งานได้ ซึ่งสามารถดาวน์โหลดข้อมูลในนั้นออกมาได้ ซึ่งข้อมูลจะถูกลบหลัง 30 เมษายน 2024 เป็นต้นไป ส่วนการคิดค่าบริการ Honeycode จะหยุดคิดหลัง 31 กรกฎาคม 2023 ที่มา: Amazon Honeycode Community

Hugging Face สตาร์ทอัพแพลตฟอร์มที่โฟกัสด้าน AI สำหรับนักพัฒนาโดยเฉพาะ ประกาศรับเงินเพิ่มทุน 235 ล้านดอลลาร์ ทำให้มูลค่ากิจการเพิ่มเป็น 4,500 ล้านดอลลาร์ ซึ่งประเด็นน่าสนใจคือรายชื่อผู้ร่วมลงทุนในรอบนี้เป็นบริษัทด้านเทคโนโลยีชื่อดังได้แก่ Google, Amazon, NVIDIA, Salesforce, AMD, Intel, IBM และ Qualcomm

Hugging Face สตาร์ทอัพแพลตฟอร์มที่โฟกัสด้าน AI สำหรับนักพัฒนาโดยเฉพาะ ประกาศรับเงินเพิ่มทุน 235 ล้านดอลลาร์ ทำให้มูลค่ากิจการเพิ่มเป็น 4,500 ล้านดอลลาร์ ซึ่งประเด็นน่าสนใจคือรายชื่อผู้ร่วมลงทุนในรอบนี้เป็นบริษัทด้านเทคโนโลยีชื่อดังได้แก่ Google, Amazon, NVIDIA, Salesforce, AMD, Intel, IBM และ Qualcomm บริการของ Hugging Face อาจพูดได้ว่าเป็น GitHub เวอร์ชันที่เน้นงาน AI โดยชุมชนนักพัฒนาสามารถแชร์โค้ด โมเดล ชุดข้อมูล เพื่อให้การสร้างโมเดล AI ทำได้ง่ายขึ้น จุดเด่นของ Hugging Face คือการรวมชุดข้อมูล โมเดล AI ให้นักพัฒนาเลือกนำมาเทรนหรือต่อยอดสร้างโมเดล AI ของตนเองได้สะดวกขึ้น และแพลตฟอร์มเองก็มีโมเดล AI ที่พัฒนาขึ้นมาให้ใช้งานด้วย Clement Delangue ซีอีโอ Hugging Face กล่าวว่าเงินทุนที่ได้มานี้ จะนำไปใช้สำหรับการจ้างพนักงาน เพื่อมาพัฒนาแพลตฟอร์มและแข่งขันในด้าน AI … Read more

Bloomberg รายงานว่า Amazon ออกนโยบายล่าสุด จะเก็บค่าธรรมเนียมกับผู้ขายบนแพลตฟอร์มเพิ่ม หากผู้ขายไม่ได้ใช้บริการจัดส่งสินค้าของ Amazon

Bloomberg รายงานว่า Amazon ออกนโยบายล่าสุด จะเก็บค่าธรรมเนียมกับผู้ขายบนแพลตฟอร์มเพิ่ม หากผู้ขายไม่ได้ใช้บริการจัดส่งสินค้าของ Amazon การเก็บค่าธรรมเนียมเพิ่มมีผลเฉพาะกับผู้ขายที่เข้าโปรแกรม Seller Fulfilled Prime ของ Amazon เท่านั้น ส่วนผู้ขายทั่วไปจะเริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่เดือนตุลาคมเป็นต้นไป ซึ่งหากเลือกจะใช้บริการส่งสินค้าอื่นที่ไม่ใช่ Amazon ผู้ขายจะต้องเสียค่าธรรมเนียมเป็นจำนวน 2% ต่อการขายแต่ละครั้ง แม้ 2% อาจเป็นจำนวนเงินที่เล็กน้อยต่อการขาย 1 ครั้ง แต่ก็มีผู้ขายเฟอร์นิเจอร์รายหนึ่งใน Amazon เผยว่าเขาอาจจะต้องเสียเงินจำนวน 1 ล้านดอลล่าร์สหรัฐต่อปี ถ้าจะใช้บริการส่งสินค้าที่ไม่ใช่ Amazon ซึ่งผู้ขายในแพลตฟอร์มหลายคนมองว่า Amazon พยายามกดดันให้พวกเขาใช้บริการจัดส่งสินค้าของ Amazon บางรายก็บอกว่าอาจจะต้องขึ้นราคาสินค้าเพราะมีค่าธรรมเนียมที่สูงขึ้น ด้าน Amazon ระบุกับ Bloomberg ว่า “การเก็บค่าธรรมเนียมนี้จะช่วยครอบคลุมค่าใช้จ่ายในการใช้งานระดับโครงสร้าง และยังช่วยวัดประสิทธิภาพของผู้ขายได้อีกด้วย” โปรแกรม Seller Fulfilled Prime เปิดตัวในปี 2014 มีจุดประสงค์เพื่อเพิ่มสินค้าคงคลังอย่างรวดเร็วโดยไม่สร้างภาระให้กับศูนย์จัดการสินค้าของ Amazon แต่ปิดตัวลงหลังจากผ่านไปสองปีเนื่องจากผู้ขายไม่ตรงตามมาตรฐานการจัดส่งของ Amazon ได้ … Read more

มีประเด็นน่าสนใจในยุโรป เมื่อ Amazon ปรับนโยบายการจ่ายเงินให้ร้านค้า โดยดึงเงินไว้บนแพลตฟอร์มเป็นเวลา 1 สัปดาห์ (นับจากวันที่สินค้าส่งถึงมือลูกค้า) “เผื่อว่า” ลูกค้าขอคืนเงิน จะได้นำเงินส่วนนี้ไปจ่ายคืนลูกค้า

มีประเด็นน่าสนใจในยุโรป เมื่อ Amazon ปรับนโยบายการจ่ายเงินให้ร้านค้า โดยดึงเงินไว้บนแพลตฟอร์มเป็นเวลา 1 สัปดาห์ (นับจากวันที่สินค้าส่งถึงมือลูกค้า) “เผื่อว่า” ลูกค้าขอคืนเงิน จะได้นำเงินส่วนนี้ไปจ่ายคืนลูกค้า นโยบายใหม่ทำให้ร้านค้าได้รับเงินช้าลงหลังขายสินค้าไปแล้ว ซึ่งร้านบางแห่งบอกว่าต้องรอนานถึง 2 สัปดาห์ และร้านไม่มีเงินหมุนเพราะปกติได้รับเงินเป็นรายวัน พอเปลี่ยนนโยบายทำให้มีช่วงที่เงินขาดมือ ปัญหานี้ทำให้หน่วยงานภาครัฐของสหราชอาณาจักรเข้ามาสนใจ และ Kevin Hollinrake รัฐมนตรีที่ดูแลธุรกิจขนาดเล็กได้เขียนจดหมายขอคำอธิบายเรื่องนี้จาก Amazon และขอให้มีมาตรการเยียวยา หลังเรื่องนี้เป็นข่าว ทำให้ Amazon ตัดสินใจเลื่อนใช้นโยบายใหม่ไปก่อน โดยจะนำมาใช้อีกรอบหลังวันที่ 21 มกราคม 2024 ที่มา – BBC, BBC