Meta อัปเดตโลโก้ของ facebook ใหม่ โดยให้เหตุผลว่า “ต้องการปรับให้โลโก้ดูโดดเด่นและดึงดูดมากขึ้น ด้วยการปรับสีน้ำเงินของ Facebook ให้สื่อถึงความมั่นใจ (สีน้ำเงินเข้มขึ้น) และตัว f พิมพ์เล็กมีการปรับดีไซน์ให้ดูโดดเด่นมากขึ้น”

Meta อัปเดตโลโก้ของ facebook ใหม่ โดยให้เหตุผลว่า “ต้องการปรับให้โลโก้ดูโดดเด่นและดึงดูดมากขึ้น ด้วยการปรับสีน้ำเงินของ Facebook ให้สื่อถึงความมั่นใจ (สีน้ำเงินเข้มขึ้น) และตัว f พิมพ์เล็กมีการปรับดีไซน์ให้ดูโดดเด่นมากขึ้น” ส่วนโลโก้ Facebook แบบเต็มมีการเปลี่ยนมาใช้ฟอนต์ Facebook Sans ที่ทางบริษัทได้สร้างขึ้นมาเอง รวมไปถึงสีอิโมจิของปุ่มรีแอคชัน, ปุ่มต่างๆ ที่มีการใช้สีฟ้าก็มีการปรับมาใช้สีน้ำเงินเข้มขึ้นตามสีโลโก้ใหม่ นอกจากนี้ยังมีการขยายโทนสีน้ำเงินของ Facebook มากขึ้นเช่น Blue, Sky Blue, Light Blue, Navy และ Dark Navy ทางบริษัทบอกว่านี่เป็นช่วงแรกของการปรับปรุงเอกลักษณ์ของบริษัทเท่านั้น ยังมีการออกแบบเพิ่มเติมอีก ที่มา: The Verge

Meta ประกาศว่า Horizon Worlds แพลตฟอร์มเมตาเวิร์สของบริษัท จะรองรับการใช้งานนอกจากเหนือจากเฮดเซต VR แล้ว โดยเพิ่มการใช้งานผ่านเว็บและมือถือ

Meta ประกาศว่า Horizon Worlds แพลตฟอร์มเมตาเวิร์สของบริษัท จะรองรับการใช้งานนอกจากเหนือจากเฮดเซต VR แล้ว โดยเพิ่มการใช้งานผ่านเว็บและมือถือ ทั้งนี้สถานะบริการยังเป็นขั้นทดสอบ ผู้สนใจต้องสมัครยื่นขอใช้งานก่อน การเพิ่มแพลตฟอร์มใช้งาน Horizon Worlds น่าจะช่วยเพิ่มจำนวนผู้ใช้งานได้มากขึ้น จากที่ต้องมีเฮดเซต Quest ซึ่งก็จำกัดกลุ่มอยู่แล้ว ที่ผ่านมา Meta ไม่เคยเปิดเผยตัวเลขผู้ใช้งาน Horizon Worlds ซึ่งผู้ใช้งานสามารถใช้ชีวิตในโลกเสมือน สนทนา เล่นเกมกับผู้ใช้งานคนอื่น สามารถสร้างไอเท็มเพื่อขายในโลกเสมือน โดย Meta หักส่วนแบ่ง 47.5% ที่มา: TechCrunch

มีรายงานจาก The Wall Street Journal พูดถึงแผนการพัฒนา AI ผู้ช่วยตัวใหม่ของ Meta บริษัทแม่ของ Facebook และ Instagram โดยมีเป้าหมายให้ความสามารถสูงกว่าโมเดล Llama 2 ที่เปิดตัวเมื่อสองเดือนที่แล้ว และสามารถแข่งขันกับ GPT-4 ของ OpenAI ได้

มีรายงานจาก The Wall Street Journal พูดถึงแผนการพัฒนา AI ผู้ช่วยตัวใหม่ของ Meta บริษัทแม่ของ Facebook และ Instagram โดยมีเป้าหมายให้ความสามารถสูงกว่าโมเดล Llama 2 ที่เปิดตัวเมื่อสองเดือนที่แล้ว และสามารถแข่งขันกับ GPT-4 ของ OpenAI ได้ แผนการเทรนโมเดลใหม่ดังกล่าวจะเริ่มในต้นปี 2024 เนื่องจาก Meta จะใช้เซิร์ฟเวอร์ประมวลผลในศูนย์ข้อมูลตนเองทั้งหมด แตกต่างจาก Llama 2 ที่ใช้ทรัพยากรของ Azure จากไมโครซอฟท์ ซึ่งตอนนี้บริษัทก็รับสมัครพนักงานที่เกี่ยวข้อง รวมถึงสั่งซื้อจีพียู H100 จาก NVIDIA จำนวนมากอีกด้วย โมเดล AI ตัวใหม่นี้ Meta ยังคงใช้แนวทางเดิมคือโอเพนซอร์สให้องค์กรนำไปใช้งานต่อยอดได้ฟรี ที่มา: The Wall Street Journal

ย้อนไปในเดือนกรกฎาคม Meta ได้เปิดตัว Threads แอปโซเชียลเน้นโพสต์ข้อความ ซึ่งการเลือกจังหวะเวลาเปิดตัวในช่วงที่ Twitter ตอนนั้นตั้งลิมิตผู้ใช้งาน ส่งผลให้ Threads กลายเป็นทางเลือกที่คนแห่กันมาสมัครลองใช้ ทำสถิติมีผู้สมัครใช้งาน 100 ล้านบัญชี ในเวลาเพียง 5 วัน เร็วที่สุดในทุกแพลตฟอร์มที่เคยมีมา

ย้อนไปในเดือนกรกฎาคม Meta ได้เปิดตัว Threads แอปโซเชียลเน้นโพสต์ข้อความ ซึ่งการเลือกจังหวะเวลาเปิดตัวในช่วงที่ Twitter ตอนนั้นตั้งลิมิตผู้ใช้งาน ส่งผลให้ Threads กลายเป็นทางเลือกที่คนแห่กันมาสมัครลองใช้ ทำสถิติมีผู้สมัครใช้งาน 100 ล้านบัญชี ในเวลาเพียง 5 วัน เร็วที่สุดในทุกแพลตฟอร์มที่เคยมีมา Jesse Chen ผู้จัดการฝ่ายวิศวกรรมของ Threads ได้เขียนบล็อกและให้สัมภาษณ์ พูดถึงความท้าทายของโครงการ ที่มีระยะเวลาสั้นในการพัฒนา ตลอดจนการสเกลเพื่อรองรับผู้สมัครใช้งานจำนวนมหาศาลที่ไม่เคยมีมาก่อน เริ่มตั้งทีม Threads เริ่มพัฒนาในเดือนมกราคม ด้วยทีมขนาดเล็ก เพื่อความคล่องตัว และต้องการให้โครงการนี้เป็นความลับ และค่อย ๆ เพิ่มจำนวนทีมงาน โดยปัจจุบันมีผู้จัดการผลิตภัณฑ์ 3 คน นักออกแบบ 3 คน และวิศวกรอีกประมาณ 60 คน แนวทางการพัฒนาคือใช้พื้นฐานของ Instagram ให้มากที่สุดเพื่อย่นระยะเวลา backend จึงใช้ Django รวมทั้งส่วนโมเดลข้อมูล ลอจิก ระบบความปลอดภัย จนถึงโครงสร้างเซิร์ฟเวอร์ เป็นการนำของเดียวกับ … Read more

Threads อัพเดตเกี่ยวกับการค้นหาด้วยคำ หรือคีย์เวิร์ด หลังจากทดสอบในออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว โดย Mark Zuckerberg ซีอีโอ Meta โพสต์ข้อความว่า ระบบค้นหานี้ขยายไปยังประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษและภาษาสเปนในการสื่อสาร เกือบทั้งหมดแล้ว ส่วนประเทศอื่นจะตามมาเร็ว ๆ นี้

Threads อัพเดตเกี่ยวกับการค้นหาด้วยคำ หรือคีย์เวิร์ด หลังจากทดสอบในออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว โดย Mark Zuckerberg ซีอีโอ Meta โพสต์ข้อความว่า ระบบค้นหานี้ขยายไปยังประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษและภาษาสเปนในการสื่อสาร เกือบทั้งหมดแล้ว ส่วนประเทศอื่นจะตามมาเร็ว ๆ นี้ ประเทศได้ที่ได้อัพเดตระบบค้นหารอบนี้จึงรวมทั้ง สหรัฐอเมริกา แคนาดา อินเดีย เม็กซิโก และสหราชอาณาจักร ที่มา: Engadget

กรรมาธิการยุโรปประกาศ 6 บริษัทที่เข้าข่ายสถานะ gatekeeper ได้แก่ Alphabet, Amazon, Apple, ByteDance, Meta, และ Microsoft โดยหลังจากนี้ทั้ง 6 บริษัทมีเวลา 6 เดือนปรับการทำธุรกิจให้เป็นเป็นตามข้อบังคับที่เพิ่มขึ้น

กรรมาธิการยุโรปประกาศ 6 บริษัทที่เข้าข่ายสถานะ gatekeeper ได้แก่ Alphabet, Amazon, Apple, ByteDance, Meta, และ Microsoft โดยหลังจากนี้ทั้ง 6 บริษัทมีเวลา 6 เดือนปรับการทำธุรกิจให้เป็นเป็นตามข้อบังคับที่เพิ่มขึ้น สถานะ gatekeeper ตามกฎหมาย Digital Markets Act ระบุให้เป็นบริษัทขนาดใหญ่มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจโดยรวม, มีผู้ใช้เป็นคนหรือธุรกิจจำนวนมาก, และมีความสามารถในการป้องกันสถานะตัวเองได้อย่างแข็งแกร่ง บริษัทที่ถูกจัดเข้าหมวดจะถูกบังคับให้เปิดแพลตฟอร์มให้บริการอื่นเข้ามาแข่งขันได้ และต้องไม่สร้างความได้เปรียบบริการของตัวเองเหนือบริการของผู้ให้บริการภายนอก เช่นการบังคับติดตั้งแอปบางตัวโดยไม่ให้ถอนออก ทั้งหกบริษัทถูกจัดเป็นสถานะ gatekeeper ในตลาดหลายอย่าง ได้แก่ สื่อสังคมออนไลน์, แชต, ตัวกลาง/แพลตฟอร์มต่างๆ, โฆษณา, เบราว์เซอร์, ระบบปฎิบัติการคอมพิวเตอร์, บริการค้นหา ก่อนหน้านี้ Apple และ Microsoft ยื่นหนังสือโต้แย้งว่าบริการ iMessage, Bing, และ Microsoft Advertising นั้นไม่เข้าข่าย ประกาศครั้งนี้จึงยังเว้นทั้งสองบริการไว้ระหว่างการสอบสวน ที่มา – Europa.eu

มีรายงานจาก The New York Times ว่า Meta กำลังพิจารณาออกแพ็คเกจ Subscription สำหรับประเทศกลุ่ม EU เพื่อลดปัญหาข้อขัดแย้งเรื่องการจัดเก็บข้อมูลผู้ใช้งาน และการแสดงผลโฆษณา โดยแพ็คเกจนี้เมื่อผู้ใช้งานจ่ายเงินแพลตฟอร์มของ Meta ทั้ง Facebook, Instagram จะไม่แสดงโฆษณาเลย

มีรายงานจาก The New York Times ว่า Meta กำลังพิจารณาออกแพ็คเกจ Subscription สำหรับประเทศกลุ่ม EU เพื่อลดปัญหาข้อขัดแย้งเรื่องการจัดเก็บข้อมูลผู้ใช้งาน และการแสดงผลโฆษณา โดยแพ็คเกจนี้เมื่อผู้ใช้งานจ่ายเงินแพลตฟอร์มของ Meta ทั้ง Facebook, Instagram จะไม่แสดงโฆษณาเลย ปัจจุบัน Meta เปิดให้ผู้ใช้ใน EU สามารถเลือกปิดการติดตามข้อมูลผู้ใช้งานสำหรับแสดงโฆษณาแบบ Opt-out และเตรียมเปิดการตั้งค่านี้เป็น Opt-in ไปเลย ที่ผ่านมาไอร์แลนด์ได้สั่งปรับ Meta 1.3 พันล้านดอลลาร์ จากสาเหตุมีการส่งออกข้อมูลผู้ใช้ในประเทศออกไปอเมริกา ผิดเงื่อนไข GDPR ซึ่งส่งผลให้ Meta ระมัดระวังในการให้บริการมากขึ้น ที่มา: The Verge

Meta ปฏิเสธข้อแนะนำจาก Oversight Board (คณะกรรมการอิสระตรวจสอบอำนาจการใช้นโยบายของ Facebook) ที่เสนอให้ระงับบัญชีของฮุนเซนอดีตนายกรัฐมนตรีกัมพูชา (เพิ่งลาออกเมื่อเดือนที่แล้ว) เนื่องจากมีการโพสต์วิดีโอข่มขู่ฝ่ายตรงข้าม

Meta ปฏิเสธข้อแนะนำจาก Oversight Board (คณะกรรมการอิสระตรวจสอบอำนาจการใช้นโยบายของ Facebook) ที่เสนอให้ระงับบัญชีของฮุนเซนอดีตนายกรัฐมนตรีกัมพูชา (เพิ่งลาออกเมื่อเดือนที่แล้ว) เนื่องจากมีการโพสต์วิดีโอข่มขู่ฝ่ายตรงข้าม กรณีดังกล่าวเกิดขึ้นเมื่อเดือนมกราคมที่มีผู้ใช้หลายคนรายงานวิดีโอ ซึ่งมีเนื้อหาระบุอดีตนายกฮุน เซน บอกว่าผู้ที่กล่าวหาว่าพรรคประชาชนกัมพูชา (CPP) ซื้อเสียงในปี 2565 ในการเลือกตั้งท้องถิ่น ควรถูกยื่นฟ้องร้องดำเนินคดีตามกฎหมาย ไม่เช่นนั้นจะถูกรุมทุบตี (face a beating) จากเหล่าผู้สนับสนุนพรรค CPP ต่อมาในเดือนมิถุนายน Oversight board แนะนำให้ทาง Meta ระงับบัญชีของอดีตนายกฮุน เซนเป็นเวลา 6 เดือน จากกรณีโพสต์คลิปวิดีโอที่ถูกระบุว่าละเมิดด้านการคุกคามและทาง Meta ตกลงที่จะลบวิดีโอออกจากแพลตฟอร์มเฟชบุ๊ก และจะดำเนินการพิจารณาข้อเสนอของ Oversight board ที่แนะให้ระงับบัญชีของฮุนเซน ล่าสุดวันจันทร์ Meta ประกาศปฎิเสธข้อเสนอระงับบัญชีอดีตนายกฮุน เซน โดยระบุว่า “ทางบริษัทพิจารณาแล้วว่า “การระงับบัญชีที่อยู่นอกเหนือกรอบการบังคับใช้กฎระเบียบ ซึ่งไม่สอดคล้องกับนโยบายของเรา รวมถึงระเบียบในการจำกัดบัญชีของบุคคลสาธารณะในช่วงที่เกิดเหตุการณ์ความไม่สงบ” Oversight board ยังคงมีการเรียกร้องให้ทาง Meta ยังยั้งการใช้แพลตฟอร์มจากบุคคลสาธารณะที่ใช้ประโยชน์จากแพลตฟอร์มเพื่อปลุกปั่นความรุนแรง และให้แน่ใจว่าจะไม่ถูกนำไปใช้ในทางที่ผิด … Read more

Meta ปล่อย Code Llama โมเดลปัญญาประดิษฐ์ที่พัฒนาต่อจาก Llama2 มาฝึกกับซอร์สโค้ดขนาด 500 ล้านโทเค็น ได้โมเดลทั้งแบบเติมโค้ดปกติ, แบบรับคำสั่ง, และโมเดลฝึกเฉพาะกับโค้ด Python

Meta ปล่อย Code Llama โมเดลปัญญาประดิษฐ์ที่พัฒนาต่อจาก Llama2 มาฝึกกับซอร์สโค้ดขนาด 500 ล้านโทเค็น ได้โมเดลทั้งแบบเติมโค้ดปกติ, แบบรับคำสั่ง, และโมเดลฝึกเฉพาะกับโค้ด Python ผลทดสอบการเขียนโค้ด HumanEval นั้น Code Llama ขนาด 34B ได้คะแนนดีกว่าโมเดลอื่นๆ ทั้งหมด รวมถึง GPT-3.5 หรือ ChatGPT ด้วย เป็นรองเพียง GPT-4 เท่านั้น ขณะที่โมเดลขนาดรองลงมา เช่น 7B และ 13B ก็ยังทำคะแนนได้ดีและตอบสนองเร็วกว่ามาก กระบวนการฝึก Code Llama นั้นเน้นถึงการเติมโค้ดตรงกลางเพิ่มเข้ามา เนื่องจากการใช้งานมักต้องใช้สำหรับ code completion ด้วย และต้องฝึกให้ขยาย context จาก 4K เป็น 100K เพื่อให้เพียงพอสำหรับการเขียนโค้ดขนาดใหญ่ๆ Meta อนุญาตให้ใช้งานโมเดล Code Llama … Read more

Meta เปิดตัว SeamlessM4T โมเดล AI แบบ multilingual multimodal สำหรับการแปลภาษาทั้งเสียงพูดและข้อความ รองรับเกือบ 100 ภาษา ภายใต้สัญญาอนุญาต CC BY-NC 4.0 สามารถนำไปใช้งานได้สำหรับการวิจัย

Meta เปิดตัว SeamlessM4T โมเดล AI แบบ multilingual multimodal สำหรับการแปลภาษาทั้งเสียงพูดและข้อความ รองรับเกือบ 100 ภาษา ภายใต้สัญญาอนุญาต CC BY-NC 4.0 สามารถนำไปใช้งานได้สำหรับการวิจัย ความสามารถของ SeamlessM4T สามารถรับรู้เสียงได้เกือบ 100 ภาษา, แปลภาษาจากเสียงพูดเป็นตัวหนังสือ ได้เกือบ 100 ภาษา, แปลเสียงพูดเป็นเสียงพูด ด้วยอินพุทเกือบ 100 ภาษา และเอาท์พุท 36 ภาษา และแปลจากตัวหนังสือเป็นตัวหนังสือได้เกือบ 100 ภาษา Meta บอกว่าจุดเด่นของโมเดลแปลภาษา SeamlessM4T นี้ คือการทำงานจบในชุดระบบเดียวทั้งเสียงพูดและข้อความ ไม่ต้องแยกส่วนออกไปในแต่ละระบบขั้นตอนของการแปล พัฒนาขึ้นจากโมเดลแปลภาษาที่ Meta เคยเปิดตัว NLLB เมื่อปีที่แล้ว ที่มา: Meta