กูเกิลประกาศว่าฟีเจอร์ทดสอบเสิร์ชแบบถามตอบ ที่ใช้แชตบอท AI Bard ตอบคำถามที่กำลังค้นหาในชื่อ Search Generative Experience (SGE) ซึ่งก่อนหน้านี้ทดสอบจำกัดเฉพาะในอเมริกาและบางประเทศ ล่าสุดฟีเจอร์นี้ขยายมายังผู้ใช้เพิ่มอีก 120 ประเทศทั่วโลก ซึ่งรวมทั้งประเทศไทยด้วย

กูเกิลประกาศว่าฟีเจอร์ทดสอบเสิร์ชแบบถามตอบ ที่ใช้แชตบอท AI Bard ตอบคำถามที่กำลังค้นหาในชื่อ Search Generative Experience (SGE) ซึ่งก่อนหน้านี้ทดสอบจำกัดเฉพาะในอเมริกาและบางประเทศ ล่าสุดฟีเจอร์นี้ขยายมายังผู้ใช้เพิ่มอีก 120 ประเทศทั่วโลก ซึ่งรวมทั้งประเทศไทยด้วย สำหรับประเทศไทย คุณสมบัติ Search Labs นี้จะใช้งานได้กับผู้ใช้จำกัดจำนวน รองรับเฉพาะการค้นหาเป็นภาษาอังกฤษเท่านั้น หากมีสิทธิเข้าร่วมทดสอบจะเห็นไอคอน Labs (ขวดรูปชมพู่) ที่มุมบนขวาของหน้าแรกใน Chrome กูเกิลยังประกาศว่า SGE เพิ่มภาษาที่รองรับในการค้นหาอีก 4 ภาษาได้แก่ สเปน โปรตุเกส เกาหลี และอินโดนีเซีย ทำให้ตอนนี้รองรับรวมเพิ่มจากอังกฤษ ฮินดี ญี่ปุ่น เป็นทั้งหมด 7 ภาษา ที่มา: กูเกิล

กูเกิลประกาศว่าฟังก์ชันสำหรับตรวจสอบรูปภาพ เพื่อดูว่าเป็นภาพต้นฉบับที่เริ่มต้นจากไหนหรือเป็นภาพปลอม About this image ซึ่งเปิดตัวในงาน Google I/O ที่ผ่านมา ตอนนี้เปิดให้ใช้งานแล้วในส่วนของ Google Search สำหรับผู้ใช้งานภาษาอังกฤษ

กูเกิลประกาศว่าฟังก์ชันสำหรับตรวจสอบรูปภาพ เพื่อดูว่าเป็นภาพต้นฉบับที่เริ่มต้นจากไหนหรือเป็นภาพปลอม About this image ซึ่งเปิดตัวในงาน Google I/O ที่ผ่านมา ตอนนี้เปิดให้ใช้งานแล้วในส่วนของ Google Search สำหรับผู้ใช้งานภาษาอังกฤษ About this image อยู่ในส่วนผลการค้นหาที่เป็นรูปภาพ โดยผู้ใช้งานเลือกไอคอน 3 จุด ในภาพที่สนใจ และเลือก About this image กูเกิลจะแสดงรายละเอียดว่า Google Search พบภาพแบบเดียวกันนี้จากเนื้อหาใดบ้าง และพบภาพนี้มานานเท่าใดแล้ว ช่วยป้องกันปัญหาการนำภาพไปใช้อธิบายในสถานการณ์ที่แตกต่างไปจากต้นเรื่อง นอกจากนี้ About this image ยังสามารถตรวจสอบ metadata ของรูปนั้น (ถ้ามี) เพื่อแยกระหว่างภาพที่ถ่ายจริง หรือเป็นภาพที่สร้างจาก AI ซึ่งกรณีที่เป็นภาพซึ่งสร้างจาก Generative AI ของกูเกิล จะมีการฝังลายน้ำสำหรับตรวจสอบในกรณีนี้ด้วย ที่มา: 9to5Google

กูเกิลประกาศเพิ่มเครื่องมือฝึกภาษาอังกฤษ ในหน้า Google Search สำหรับผู้ใช้ Android โดยเริ่มที่ประเทศ อาร์เจนตินา โคลัมเบีย อินเดีย (สำหรับผู้ใช้ภาษาฮินดี) อินโดนีเซีย เม็กซิโก และเวเนซุเอลา โดยจะเพิ่มเติมประเทศในอนาคต

กูเกิลประกาศเพิ่มเครื่องมือฝึกภาษาอังกฤษ ในหน้า Google Search สำหรับผู้ใช้ Android โดยเริ่มที่ประเทศ อาร์เจนตินา โคลัมเบีย อินเดีย (สำหรับผู้ใช้ภาษาฮินดี) อินโดนีเซีย เม็กซิโก และเวเนซุเอลา โดยจะเพิ่มเติมประเทศในอนาคต กูเกิลบอกที่ผ่านมา Google Search ก็เป็นตัวช่วยด้านภาษาอังกฤษให้ผู้ใช้งานอยู่แล้วทั้งการแปล การหาคำนิยาม หรือช่วยคลังคำศัพท์ แต่ตอนนี้กูเกิลเพิ่มเครื่องมือใหม่ให้ได้ฝึกการพูดภาษาอังกฤษ และมีระบบตอบโต้ให้ความเห็นสำหรับแต่ละคน บทเรียนฝึกการพูดภาษาอังกฤษใช้เวลาประมาณ 3-5 นาทีต่อวัน โดยจะมีประโยคคำถาม และให้คำศัพท์มาสำหรับการสร้างประโยคคำตอบ ซึ่งระบบจะให้คะแนนทั้งการตอบตรงตามคำถาม การใช้ไวยากรณ์ที่ถูกต้อง รวมทั้งให้คำแนะนำประโยคคำตอบแบบอื่นที่สามารถใช้ได้ เป็นต้น กูเกิลบอกว่าฟีเจอร์สอนภาษานี้ เป็นส่วนหนึ่งของการนำ AI มาใช้กับบริการ Google Search ซึ่งมีความท้าทายในการสร้างบทเรียนสำหรับผู้ใช้งานในแต่ละระดับความรู้การใช้ภาษา ที่มา: กูเกิล

ParadeDB ผู้สร้างดิสโทรของ PostgreSQL เปิดส่วนขยาย pg_bm25 สำหรับการสร้าง search engine ด้วย PostgreSQL โดยมีเป้าหมายคือการทดแทน Elasticsearch

ParadeDB ผู้สร้างดิสโทรของ PostgreSQL เปิดส่วนขยาย pg_bm25 สำหรับการสร้าง search engine ด้วย PostgreSQL โดยมีเป้าหมายคือการทดแทน Elasticsearch pg_bm25 อาศัยการสร้าง index แบบ BM25 ที่สามารถหาเอกสารโดยไม่ได้เรียงลำดับแค่พบคำค้นหาเท่านั้น แต่ให้คะแนนจำนวนครั้งที่พบคำค้น, ให้ความสำคัญกับคำที่พบได้น้อยเป็นพิเศษ, ให้ความสำคัญกับเอกสารที่สั้นกว่า โดย Elasticsearch เองก็ใช้ BM25 ในการค้นเอกสารเช่นกัน โครงการสร้างด้วยไลบรารี Tantivy ภาษา Rust ที่ทำงานคล้ายกับ Apache Lucene ที่ Elasticsearch ใช้ และใช้เฟรมเวิร์ค pgrx สำหรับการสร้างส่วนขยาย PostgreSQL ในภาษา Rust จากนั้นเพิ่ม opertor ใหม่ @@@ เลียนแบบ @@ ของ PostgreSQL เอง การติดตั้ง pg_bm25 ตอนนี้มีสองทาง คือ … Read more

Oracle ประกาศเตรียมเพิ่มฟีเจอร์ vector search เข้าไปยังซอฟต์แวร์ Oracle Database 23c รองรับการใช้งานมากขึ้นเนื่องจากช่วงหลังมีการใช้งานปัญญาประดิษฐ์ในกลุ่มโมเดลภาษาขนาดใหญ่ (large language model – LLM) จำนวนมาก

Oracle ประกาศเตรียมเพิ่มฟีเจอร์ vector search เข้าไปยังซอฟต์แวร์ Oracle Database 23c รองรับการใช้งานมากขึ้นเนื่องจากช่วงหลังมีการใช้งานปัญญาประดิษฐ์ในกลุ่มโมเดลภาษาขนาดใหญ่ (large language model – LLM) จำนวนมาก บริการปัญญาประดิษฐ์มักมาพร้อมบริการ embedding แปลงข้อความเป็น vector ทำให้สามารถเขียนแอปพลิเคชั่นค้นหาคอนเทนต์ที่ใกล้เคียงกันโดยอาศัยการหากระยะห่างระหว่าง vector ต่างๆ กระบวนการค้นหาข้อมูลที่ใกล้เคียงกันเช่นนี้ทำให้ฐานข้อมูลมีแนวคิดต่างไป เนื่องจากไม่สามารถ index ชุดข้อมูลตรงๆ ได้ ความต้องการคิวรีข้อมูลแบบ vector ทำให้มีฐานข้อมูลเกิดใหม่เพื่อรองรับข้อมูลแบบ vector โดยเฉพาะจำนวนมาก หรือระบบฐานข้อมูลเดิมๆ หลายตัวก็มีส่วนขยายรองรับข้อมูลแบบ vector เช่น pgvector ของ PostgreSQL Oracle Database 23c นั้นเข้าสถานะ GA ตั้งแต่ 19 กันยายนที่ผ่านมาแต่ฟีเจอร์ vector เต็มตัวนั้นจะเพิ่มเข้ามาภายหลัง ที่มา – Oracle

Meta ประกาศว่าเพื่อให้เป็นการปฏิบัติตามกฎหมายดิจิทัล DSA ของคณะกรรมาธิการยุโรป ซึ่งมีประเด็นสำคัญคือผู้ใช้งานในกลุ่มประเทศสหภาพยุโรปหรือ EU ต้องสามารถปิดการใช้งาน (opt-out) ระบบแนะนำเนื้อหา (Recommendation) ที่เรียนรู้และปรับแต่งให้เข้ากับผู้ใช้งานแต่ละคนได้ โดย Meta จะเพิ่มตัวเลือกปิดการแนะนำเนื้อหามีผลกับ Reels, Stories และ Search ใน Facebook และ Instagram

Meta ประกาศว่าเพื่อให้เป็นการปฏิบัติตามกฎหมายดิจิทัล DSA ของคณะกรรมาธิการยุโรป ซึ่งมีประเด็นสำคัญคือผู้ใช้งานในกลุ่มประเทศสหภาพยุโรปหรือ EU ต้องสามารถปิดการใช้งาน (opt-out) ระบบแนะนำเนื้อหา (Recommendation) ที่เรียนรู้และปรับแต่งให้เข้ากับผู้ใช้งานแต่ละคนได้ โดย Meta จะเพิ่มตัวเลือกปิดการแนะนำเนื้อหามีผลกับ Reels, Stories และ Search ใน Facebook และ Instagram Meta บอกว่าเมื่อผู้ใช้งานเลือกปิดระบบแนะนำ ฟีดจะเลือกเนื้อหามาแสดงโดยอิงตามบัญชีที่ติดตาม เรียงตามลำดับเวลาล่าสุดไปหาเก่าสุด ส่วนระบบ Search แสดงผลการค้นหาอิงตามคีย์เวิร์ดที่ป้อนเข้าไป โดยไม่มีการปรับแต่งผลลัพธ์อิงตามประวัติการใช้งานแต่ละคน ประกาศของ Meta นี้ เป็นรูปแบบเดียวกับ TikTok ที่ประกาศก่อนหน้านี้ และมีผลเฉพาะกลุ่มประเทศ EU โดย Meta ยังไม่ได้ระบุวันที่จะเริ่มมีผล ก่อนหน้านี้ Meta ได้เผยแพร่เนื้อหาอธิบายการทำงานของ AI ระบบแนะนำเนื้อหา เรียกชื่อว่า 22 system cards ที่ให้รายละเอียดการคัดเนื้อหาแต่ละส่วนมาแสดงให้กับผู้ใช้งานแต่ละคน ที่มา: Meta

กูเกิลเพิ่มฟีเจอร์ปัญญาประดิษฐ์ในกลุ่ม Search Generative Experience (SGE) ที่ก่อนหน้านี้เป็นการสร้างคำตอบในการถามคำถามผ่านช่องค้นหา โดยฟีเจอร์สำคัญคือการถามตอบคำถามบนเว็บต่างๆ ชื่อว่า SGE while browsing

กูเกิลเพิ่มฟีเจอร์ปัญญาประดิษฐ์ในกลุ่ม Search Generative Experience (SGE) ที่ก่อนหน้านี้เป็นการสร้างคำตอบในการถามคำถามผ่านช่องค้นหา โดยฟีเจอร์สำคัญคือการถามตอบคำถามบนเว็บต่างๆ ชื่อว่า SGE while browsing SGE while browsing ทำให้เบราว์เซอร์สามารถสรุปประเด็นสำคัญบนเว็บที่กำลังอ่านอยู่ พร้อมลิงก์ไปยังจุดต่างๆ บนเว็บ และยังแสดงคำถามตอบจากข้อมูลบนเว็บ ตอนนี้ฟีเจอร์นี้ยังเป็น Search Lab และเปิดใช้ได้ใน Android และ iOS ก่อน ส่วนเดสก์ทอปจะมาภายหลัง ฟีเจอร์อีกส่วนคือหน้าค้นหาเดิมที่เคยใช้ปัญญาประดิษฐ์สร้างคำตอบที่เพิ่งเปิดให้ใช้งานไปนั้น จะเพิ่มฟีเจอร์แสดงคำสำคัญพร้อมแสดงข้อมูลที่เกี่ยวข้องสั้นๆ มาให้ในตัว ที่มา – Google

กูเกิลประกาศเพิ่มฟีเจอร์ชื่อ Results about you ให้เราตรวจสอบได้ง่ายขึ้นว่ามีข้อมูลส่วนตัว เช่น เบอร์โทรศัพท์ ที่อยู่ อีเมล ปรากฏอยู่ในผลการค้นหาของ Google Search หรือไม่

กูเกิลประกาศเพิ่มฟีเจอร์ชื่อ Results about you ให้เราตรวจสอบได้ง่ายขึ้นว่ามีข้อมูลส่วนตัว เช่น เบอร์โทรศัพท์ ที่อยู่ อีเมล ปรากฏอยู่ในผลการค้นหาของ Google Search หรือไม่ ฟีเจอร์นี้เปิดตัวมาได้สักระยะแล้ว แต่ยังจำกัดเฉพาะผู้ใช้ในสหรัฐอเมริกาเท่านั้น ล่าสุดกูเกิลเพิ่มระบบ alert แจ้งเตือนให้เราทราบหากมีข้อมูลใหม่ติดเข้ามาในผลการค้นหา และเราสามารถยื่นขอลบข้อมูลเหล่านี้ออกได้ ฟีเจอร์อีกตัวที่ประกาศพร้อมกันคือ Google SafeSearch ตัวกรองผลการค้นหาที่ปลอดภัย เพิ่มการเบลอภาพที่ไม่เหมาะสม เช่น เนื้อหารุนแรง มีเลือดหรืออาการบาดเจ็บ เนื้อหาสำหรับผู้ใหญ่ เพื่อให้การค้นหาใน Google Image Search ดูไม่น่ากลัวจนเกินไป (หรือการใช้งานในโรงเรียนที่มีเด็ก) ฟีเจอร์นี้จะเปิดใช้งานทั่วโลกในเดือนนี้ ที่มา – Google

กูเกิลประกาศเพิ่ม 3 ฟีเจอร์ใหม่ให้ Search Generative Experience (SGE) ซึ่งกูเกิลทดลองนำ Generative AI มาช่วยตอบคำถามใน Google Search ช่วยให้ผู้ใช้งานได้คำตอบออกมาทันที ไม่ต้องคลิกลิงก์ในรายการค้นหา

กูเกิลประกาศเพิ่ม 3 ฟีเจอร์ใหม่ให้ Search Generative Experience (SGE) ซึ่งกูเกิลทดลองนำ Generative AI มาช่วยตอบคำถามใน Google Search ช่วยให้ผู้ใช้งานได้คำตอบออกมาทันที ไม่ต้องคลิกลิงก์ในรายการค้นหา ฟีเจอร์แรกคือการแทรกวิดีโอหรือรูปภาพประกอบในคำตอบ เพราะในหลายกรณีนั้น หากมีภาพหรือคลิปประกอบด้วยย่อมดีกว่าแค่ตัวหนังสือ เช่น นกที่มีขนาดเล็กที่สุด อธิบายท่าในการเล่นโยคะ ฯลฯ ส่วนอีก 2 ฟีเจอร์ได้แก่ ปรับปรุงการให้คำตอบที่รวดเร็วมากขึ้น โดยคำถามที่ซับซ้อนใช้เวลาตอบลดลงครึ่งหนึ่ง นอกจากนี้คำตอบที่แสดงมายังแนบลิงก์ท้ายข้อความ เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถคลิกเพื่อดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่มากขึ้นได้ด้วย บริการ SGE ตอนนี้ยังมีสถานะทดลองใน Search Labs ที่ต้องเปิดใช้งานเอง และจำกัดเฉพาะผู้ใช้งานในอเมริกา ที่มา: กูเกิล

Google Search เริ่มอัปเดตการแสดงผลสภาพอากาศบนสมาร์ทโฟนแบบใหม่ (พิมพ์ weather ในช่อง search บนสมาร์ทโฟน) ปรับไปใช้ Material You ตามสมัยนิยม พร้อมปรับการแสดงผลกราฟิกของสภาพอากาศปัจจุบัน ให้มีความสวยงามมากขึ้น

Google Search เริ่มอัปเดตการแสดงผลสภาพอากาศบนสมาร์ทโฟนแบบใหม่ (พิมพ์ weather ในช่อง search บนสมาร์ทโฟน) ปรับไปใช้ Material You ตามสมัยนิยม พร้อมปรับการแสดงผลกราฟิกของสภาพอากาศปัจจุบัน ให้มีความสวยงามมากขึ้น นอกจากแสดงผลแบบใหม่แล้ว เวลาผู้ใช้ค้นหาสภาพอากาศ Google ยังมีการสุ่มถามเกี่ยวกับสภาพอากาศด้วยว่า ถูกต้องไหม โดยมีตัวเลือก Yes หรือ No มาให้กด ซึ่งน่าจะเป็นการใช้วิธีการ crowdsourcing เพื่อปรับปรุงข้อมูลสภาพอากาศ อย่างไรก็ตามอัปเดตนี้น่าจะทยอยปล่อยอัปเดต เพราะผมทดสอบดูบน Pixel แล้วยังไม่พบการแสดงผลแบบใหม่ ที่มา: 9to5Google