WhatsApp ประกาศรองรับการล็อกอินด้วย Passkey มีผลกับผู้ใช้งาน Android หลังจากทดสอบมาตั้งแต่เดือนสิงหาคม โดยตอนนี้เข้าสู่สถานะ stable แล้ว ซึ่งฟีเจอร์นี้จะนำมาแทนที่การยืนยันตัวตนด้วย SMS ในการรับรหัสล็อกอินครั้งเดียวเพิ่มความปลอดภัย และคาดว่าจะทยอยเปิดใช้งานให้ผู้ใช้งานทั่วโลกเร็ว ๆ นี้

WhatsApp ประกาศรองรับการล็อกอินด้วย Passkey มีผลกับผู้ใช้งาน Android หลังจากทดสอบมาตั้งแต่เดือนสิงหาคม โดยตอนนี้เข้าสู่สถานะ stable แล้ว ซึ่งฟีเจอร์นี้จะนำมาแทนที่การยืนยันตัวตนด้วย SMS ในการรับรหัสล็อกอินครั้งเดียวเพิ่มความปลอดภัย และคาดว่าจะทยอยเปิดใช้งานให้ผู้ใช้งานทั่วโลกเร็ว ๆ นี้ กุญแจเข้ารหัสที่ใช้ยืนยันตัวตนของ WhatsApp จะถูกจัดเก็บใน Google Password Manager อัตโนมัติ ช่วยให้การล็อกอิน WhatsApp บนโทรศัพท์เครื่องใหม่ทำได้รวดเร็วยิ่งขึ้น ทั้งนี้ WhatsApp ยังไม่ได้พูดถึงการรองรับ Passkey บน iPhone มาจะมาเมื่อใด ที่มา: Android Police

นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (DE) พูดถึงกรณีเหตุการณ์ในห้างสยามพารากอนวันที่ 3 ตุลาคมที่ผ่านมา ในช่วงเวลาดังกล่าวทางห้างได้แจ้งเตือนโดยใช้วิธีส่ง SMS ถึงผู้ที่อยู่บริเวณห้างว่า “ขณะนี้เหตุการณ์ฉุกเฉินให้อพยพออกจากพื้นที่พารากอน” ซึ่งเป็นเรื่องที่ดี แต่ว่าข้อความอาจจะไม่ได้ส่งถึงคนอีกจำนวนมากในห้าง และไม่พบว่ามีการแจ้งเตือนจากภาครัฐแบบเจาะจงสำหรับคนในพื้นที่

นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (DE) พูดถึงกรณีเหตุการณ์ในห้างสยามพารากอนวันที่ 3 ตุลาคมที่ผ่านมา ในช่วงเวลาดังกล่าวทางห้างได้แจ้งเตือนโดยใช้วิธีส่ง SMS ถึงผู้ที่อยู่บริเวณห้างว่า “ขณะนี้เหตุการณ์ฉุกเฉินให้อพยพออกจากพื้นที่พารากอน” ซึ่งเป็นเรื่องที่ดี แต่ว่าข้อความอาจจะไม่ได้ส่งถึงคนอีกจำนวนมากในห้าง และไม่พบว่ามีการแจ้งเตือนจากภาครัฐแบบเจาะจงสำหรับคนในพื้นที่ ทาง DE ได้รับคำสั่งให้ดำเนินการร่วมกับ กสทช. หาแนวทางในการแจ้งเตือนแบบเจาะจง ดังนี้ ระยะเร่งด่วนภายใน 1 เดือน : ใช้ระบบส่ง SMS (Location Based Service) ให้ครอบคลุมทั้งประเทศ จากเดิมที่มีใช้อย่างไม่ครอบคลุม ใช้ระบบอย่างไม่บูรณาการ ใช้อย่างไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร ระยะปานกลางโดยเร็ว : ใช้ระบบ Cell Broadcast เป็นระบบที่มีประสิทธิภาพสูงกว่า SMS โดยจะแจ้งเตือนแบบเจาะจงได้ทันที และมีการเตือนได้หลายรูปแบบ เช่น การสั่นของโทรศัพท์เคลื่อนที่และเครื่องมือสื่อสาร การเด้ง pop-up ของข้อความ เป็นต้น ซึ่ง cell broadcast ดีอี สรุป ทางเทคนิค จบแล้ว … Read more

กูเกิลยังเดินหน้ากดดันแอปเปิลให้รองรับการส่งข้อความแบบ RCS ต่อไป ล่าสุดคือออกคลิปโฆษณา iPager ล้อเลียนว่า iPhone เหมือนเพจเจอร์ในอดีต ที่ส่งได้เฉพาะข้อความ SMS ซึ่งล้าสมัยไปมากแล้ว ไม่ปลอดภัย คุยแชทกลุ่มลำบาก ฯลฯ ก่อนปิดด้วยสโลแกน #GetTheMessage พร้อมลิงก์ไปยังหน้าแคมเปญ

กูเกิลยังเดินหน้ากดดันแอปเปิลให้รองรับการส่งข้อความแบบ RCS ต่อไป ล่าสุดคือออกคลิปโฆษณา iPager ล้อเลียนว่า iPhone เหมือนเพจเจอร์ในอดีต ที่ส่งได้เฉพาะข้อความ SMS ซึ่งล้าสมัยไปมากแล้ว ไม่ปลอดภัย คุยแชทกลุ่มลำบาก ฯลฯ ก่อนปิดด้วยสโลแกน #GetTheMessage พร้อมลิงก์ไปยังหน้าแคมเปญ ก่อนหน้านี้ กูเกิลออกแคมเปญลักษณะเดียวกันหลายครั้ง เช่น ซื้อป้ายบิลบอร์ดในลาสเวกัส แต่ Tim Cook ก็เคยให้สัมภาษณ์ยืนยันว่าไม่สนใจรองรับ RCS อยู่ดี ที่มา – 9to5google Topics:  RCS Google Apple iPhone Android

dtac เป็นค่ายเดียวที่มีแอปพลิเคชัน ที่ทำให้มือถือ แทบจะทุกรุ่นรองรับการใช้งาน Wifi Calling ได้ และยังสามารถเพิ่มเบอร์โทรเข้าไปในแอป เพื่อใช้รับสายและโทรออก รวมทั้งใช้งาน SMS ได้ถึง 5 เบอร์ในเครื่องเดียวได้ ทำให้ผู้ใช้งานที่ต้องเดินทางต่างประเทศบ่อย สะดวกสบายและประหยัดค่าบริการ Raoming อีกด้วย

dtac เป็นค่ายเดียวที่มีแอปพลิเคชัน ที่ทำให้มือถือ แทบจะทุกรุ่นรองรับการใช้งาน Wifi Calling ได้ และยังสามารถเพิ่มเบอร์โทรเข้าไปในแอป เพื่อใช้รับสายและโทรออก รวมทั้งใช้งาน SMS ได้ถึง 5 เบอร์ในเครื่องเดียวได้ ทำให้ผู้ใช้งานที่ต้องเดินทางต่างประเทศบ่อย สะดวกสบายและประหยัดค่าบริการ Raoming อีกด้วย แต่เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2566 ที่ผ่านมา ผู้ใช้งานหลายคนได้เริ่มรับแจ้งผ่านทาง SMS ว่า dtac จะหยุดให้บริการแอปพลิเคชัน dtac Call ตั้งแต่วันที่ 11 ตุลาคม 2566 เป็นต้นไป ดีแทคขอแจ้งว่า แอปพลิเคชั่นรวมทุกเบอร์ที่คุณใช้ในเครื่องเดียว(บริการ dtac call) จะหยุดให้บริการในวันที่ 11 ต.ค. 66 เป็นต้นไป ทั้งนี้ท่านยังคงสามารถใช้บริการอื่นๆ จากดีแทคได้ตามปกติ หากซิมการ์ดเบอร์อื่นๆของคุณหายสามารถรับซิมฟรีไม่มีค่าใช้จ่ายที่ศูนย์บริการ ดีแทค ทั่วประเทศ บริการ dtac call เปิดตัวเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน … Read more

การสื่อสารผ่านโทรศัพท์มือถือบนเครือข่ายดิจิทัลนั้นมีการพัฒนามายาวนาน และมาตรฐานหลายตัวที่ออกมานับสิบปีแล้วก็ยังคงมีอุปกรณ์รองรับอยู่แม้มาตรฐานใหม่ๆ จะแก้ไขไปมากแล้ว สัปดาห์ที่ผ่านมากองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บก.สอท.) ก็ประกาศจับกุมกลุ่มคนร้ายที่อาศัยการโจมตีด้วยการตั้งสถานีปลอม (False Base Station) เพื่อยิง SMS เข้าไปยังโทรศัพท์มือถือโดยตรง ในบทความนี้จะมาสำรวจถึงการโจมตีรูปแบบนี้

การสื่อสารผ่านโทรศัพท์มือถือบนเครือข่ายดิจิทัลนั้นมีการพัฒนามายาวนาน และมาตรฐานหลายตัวที่ออกมานับสิบปีแล้วก็ยังคงมีอุปกรณ์รองรับอยู่แม้มาตรฐานใหม่ๆ จะแก้ไขไปมากแล้ว สัปดาห์ที่ผ่านมากองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บก.สอท.) ก็ประกาศจับกุมกลุ่มคนร้ายที่อาศัยการโจมตีด้วยการตั้งสถานีปลอม (False Base Station) เพื่อยิง SMS เข้าไปยังโทรศัพท์มือถือโดยตรง ในบทความนี้จะมาสำรวจถึงการโจมตีรูปแบบนี้ การตั้งสถานีปลอมมีชื่อเรียการโจมตีหลากหลาย เช่น false base station, IMSI catcher, Stingray, rogue base station, cell-site simulator โดยแนวทางการโจมตีเหมือนกันหมด คือคนร้ายพยายามตั้งเสาสัญญาณโทรศัพท์มือถือ ปลอมตัวเป็นเครือข่ายโทรศัพท์มือถือเพื่อ ในกรณีของไทยที่เป็นข่าวใหญ่เนื่องจากคนร้ายสามารถส่ง SMS เข้ามาโดยไม่ต้องใช้ซิม แต่รายงานของ 3GPP ระบุถึงแนวทางการโจมตีว่าคนร้ายอาจจะต้องการผล 1 ใน 4 รูปแบบ ได้แก่ โจมตีโทรศัพท์ไม่ให้เชื่อมต่อเครือข่ายใดๆ โจมตีเครือข่าย ไม่ให้สามารถให้บริการโทรศัพท์ได้ตามปกติ แทรกบริการของตัวเอง เช่น โทรศัพท์, SMS เข้าไปยังโทรศัพท์มือถือ (ข่าวของไทยโดนโจมตีรูปแบบนี้) ดึงข้อมูลส่วนตัวผู้ใช้ ทำให้สามารถติดตามได้ว่าโทรศัพท์เครื่องใดอยู่ตำแหน่งใดบ้าง เป็นรูปแบบที่มีรายงานว่าตำรวจสหรัฐฯ ใช้งานอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 1995 คนร้ายที่โจมตีแบบ … Read more